สร้างเว็บ
คำค้นหา :
ประเภท :
สินค้า
บทความ
ข่าวสาร
แกลอรี่
เว็บบอร์ด
หน้าแรก
ประวัติ
บทความ
สถิติ
เปิดเมื่อ
31/05/2012
อัพเดท
9/07/2012
ผู้เข้าชม
12170
แสดงหน้า
13792
เมนู
หน้าแรก
ข่าวสาร
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
สมาชิก
ติดต่อเรา
บทความ
ประวัติส่วนตัว
วิธีการทำเว็บจาก www.myreadyweb.com
คำอธิบายรายวิชา ง22101
บทที่ 1 เรื่อง ธรรมชาติและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี
บทที่ 2 เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยี
บทที่ 3 เรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยี
บทที่ 4 เรื่อง พลังงานน้ำ
บทที่ 5 เรื่อง 4Rกับการลดใช้พลังงาน
บทที่ 6 โครงงานเทคโนโลยี
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในประเทศไทย
ปฎิทิน
April 2025
Sun
Mon
Tue
Wed
Thu
Fri
Sat
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
บทความ
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในประเทศไทย
วิวัฒนาการของประเทศไทย
นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่สมัย
อาณาจักรสุโขทัย
เป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปีทั้งยังมีหลักฐานของอารยธรรมและรับโบราณในอาณาเขตดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์
อาณาจักรอยุธยา
ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310
พระยาตาก
ได้
รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช
และ
ย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงสถาปนา
กรุงรัตนโกสินทร์
ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
การลงนามใน
สนธิสัญญาเบาว์ริง
ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการ
เสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ
แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทำให้ไทยเข้าร่วม
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับ
ฝ่ายพันธมิตร
ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
วันที่
24 มิถุนายน
พ.ศ. 2475
ได้มี
การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
มาเป็น
ประชาธิปไตย
ทำให้
คณะราษฎร
เข้ามามีบทบาทในทางการเมือง
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ประเทศไทยได้ลงนามเป็น
พันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น
ในช่วง
สงครามเย็น
ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็น
พันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา
โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของ
คอมมิวนิสต์
ในภูมิภาค
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ใน
ระบอบเผด็จการ
ในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของ
รัฐบาลทหาร
ผ่าน
การก่อรัฐประหาร
หลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญใน
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิด
วิกฤตการณ์การเมือง
ซึ่งเริ่มมา
การแบ่งยุคสมัย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
“พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย”
การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง 'ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร' ใน
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
เมื่อ
พ.ศ. 2457
ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า
'เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อ
กรุงสุโขทัย
เป็นราชธานียุค 1 เมื่อ
กรุงศรีอยุธยา
เป็นราชธานียุค 1 เมื่อ
กรุงรัตนโกสินทร์
เป็นราชธานียุค 1'
[2]
ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear)โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ.ดร.
นิธิ เอียวศรีวงศ์
ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้
[3]
การตั้งถิ่นฐานของผู้คน นับตั้งแต่
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น
การเข้ามาของอารยธรรมใหญ่ คือ
อินเดีย
และ
จีน
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน
คริสต์ศตวรรษที่ 13
ยุคสมัยของการค้า (คริสต์ศตวรรษที่ 15-17)
ก่อน
สมัยใหม่
รัฐ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์
สยาม
การปฏิวัติ 2475 และกำเนิดรัฐประชาชาติในทางทฤษฎี
การปฏิวัติ
14 ตุลาคม 2516
ยุคก่อนประวัติศาสตร์และรัฐโบราณในประเทศไทย
แผนที่แสดงรัฐโบราณในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน
- ชนพื้นเมืองและการอพยพเข้ามาในประเทศไทย -
นักมานุษยวิทยา
ได้จัดประเภทมนุษย์สมัยโบราณรุ่นแรกในตระกูลออสโตเนเซียน ซึ่งเป็นพวกที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อหลายพันปีที่แล้ว รวมทั้งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน ต่อมา มนุษย์ในตระกูลมอญและเขมรจะอพยพเข้ามาจากจีนหรืออินเดียด้วย ก่อนที่พวกไทยจะอพยพเข้ามาแย่งชิงดินแดนจากพวกละว้า ซึ่งเป็นชนชาติล้าหลังวัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันจึงสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากพวกละว้า>
แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
ดูบทความหลักที่
แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท
ย
รัฐโบราณในประเทศไทย
จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บันทึกราชการของจีน และบันทึกของพระภิกษุจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ 12 ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาจในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว
[4]
โดยอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ดังรายชื่อด้านล่าง
[5]
อาณาจักรทวารวดี
อาณาจักรละโว้
อาณาจักรฟูนัน
อาณาจักรขอม
แคว้นจำปาศักดิ์
อาณาจักรเจนละ
แคว้นศรีจทาศะปุระ
อาณาจักรโคตรบูร
อาณาจักรหริภุญชัย
อาณาจักรโยนกเชียงแสน
รัฐผั่น-ผั่น
อาณาจักรตามพรลิงก์
รัฐลังกาสุ
รัฐเชียะโท้
สมัยอาณาจักรสุโขทัย และยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา
ดูบทความหลักที่
อาณาจักรสุโขทัย
และ
อาณาจักรล้านนา
การล่มสลายของ
จักรวรรดิขะแมร์
เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี
พ.ศ. 1781
อาณาจักรสุโขทัยขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์
[6]
ลักษณะการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก เนื่องจากมีความใกล้ชิดระหว่างผู้ปกครองและราษฎร แต่ในรัชสมัย
พญาลิไท
ก็ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธเข้ามา
ในช่วงเวลาเดียวกัน
อาณาจักรล้านนา
ได้ก่อตั้งขึ้นในปี
พ.ศ. 1802
โดย
พญามังราย
ที่ขยายอำนาจมาจากลุ่ม
แม่น้ำกก
และอิง สู่ลุ่ม
แม่น้ำปิง
พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับ
อาณาจักรอยุธยา
หรือ
กรุงศรีอยุธยา
ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19-20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดเชียงใหม่ได้ปราชัยต่อ
พม่า
ในปี
พ.ศ. 2101
ถูกพม่ายึดครองอีกครั้งในราวปี 2310 กระทั่งเมื่อวันที่
14 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2318
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
และ
พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ
ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น
พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ
ได้ทรงปกครอง
อาณาจักรล้านนา
ในฐานะประเทศราชสยาม
สาเหตุการเลือกอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย
นักวิชาการให้เหตุผลในการเลือกเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยไว้ 2 เหตุผล ได้แก่:
1. วิชา
ประวัติศาสตร์
มักจะยึดเอาการที่มนุษย์เริ่มมีภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ หลักฐานประเภทลายลักษณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเมื่อประกอบกับการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย
2. เป็นการสะดวกในด้านการนับเวลาและเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์มีหลักฐานความสืบเนื่องกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ เหตุผลทั้งสองประการก็ยังไม่เป้นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์นัก
[7]
สมัยอาณาจักรอยุธยา
ดูบทความหลักที่
อาณาจักรอยุธยา
พระเจ้าอู่ทอง
ทรงก่อตั้ง
อาณาจักรอยุธยา
ในปี พ.ศ. 1893 ซึ่งในช่วงแรกนั้นก็มิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดน
คาบสมุทรอินโดจีน
ทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว
การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครอง
มะละกา
ของ
โปรตุเกส
ในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดย
ชาวโปรตุเกส
ได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น
ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อ
ราชวงศ์ตองอู
ของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้
อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอู
ในที่สุด ก่อนที่
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
จะทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา
อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรด
อาณาจักรล้านนา
ไปจรด
คาบสมุทรมลายู
ทางทิศใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของ
คอนสแตนติน ฟอลคอน
ทำให้ถูกสังหารโดย
พระเพทราชา
อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้
อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย
เมื่อปี พ.ศ. 2310
สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ดูบทความหลักที่
อาณาจักรธนบุรี
ในปี
พ.ศ. 2310
-
2325
เริ่มต้นหลังจากที่
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่
กรุงธนบุรี
โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่ง
ราชวงศ์จักรี
และทรงย้ายเมืองหลวงมายัง
กรุงเทพมหานคร
เริ่มยุคสมัยแห่ง
กรุงรัตนโกสินทร์
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้
แคว้นล้านนา
ปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่
สงครามเก้าทัพ
,
สงครามท่าดินแดง
กับพม่า ตลอดจน
กบฏเจ้าอนุวงศ์
กับลาว และ
อานามสยามยุทธ
กับญวน
ในช่วงนี้ กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่ค่อยมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายอีก ได้ตระหนักว่าพวกพ่อค้าจีนได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนไทยและพวกตน จึงได้เริ่มเรียกร้องสิทธิพิเศษต่าง ๆ มาโดยตลอด
[8]
มีการเดินทางเยือนของทูตหลายคน อาทิ จอห์น ครอเฟิร์ต ตัวแทนจาก
บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
[8]
ซึ่งเข้ามาในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงใด ๆ สนธิสัญญาที่มีการลงนามในช่วงนี้ เช่น
สนธิสัญญาเบอร์นี
และ
สนธิสัญญาโรเบิร์ต
[8]
แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่มีผลกระทบมากนัก และชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ได้มีคณะทูตตะวันตกเข้ามาเสนอสนธิสัญญาข้อตกลงทางการค้าอยู่เรื่อย ๆ เพื่อขอสิทธิทางการค้าให้เท่ากับพ่อค้าจีน และอังกฤษต้องการเข้ามาค้า
ฝิ่น
อันได้กำไรมหาศาล
[8]
แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งคณะของเจมส์ บรุคจากอังกฤษ และโจเซฟ บัลเลสเตียร์จากสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวตะวันตกขุ่นเคืองต่อราชสำนัก
การเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก
ดูบทความหลักที่
กรุงรัตนโกสินทร์
และ
การเปลี่ยนแปลงดินแดนของสยามและไทย
ดูเพิ่มที่
สยาม
ภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี
พ.ศ. 2369
พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหาอำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนิน
นโยบายทอดไมตรี
กับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมี
การเปลี่ยนแปลงดินแดน
หลายครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะ
รัฐกันชน
ระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก และเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถรักษาเอกราชของตนไว้ได้
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย
ดูบทความหลักที่
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
ดูเพิ่มที่
ความเคลื่อนไหวสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองสยาม
และ
ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร
เมื่อวันที่
24 มิถุนายน
พ.ศ. 2475
ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า
คณะราษฎร
ได้
ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง
จาก
สมบูรณาญาสิทธิราช
มาเป็น
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันกษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด โดยมีการร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475
ขึ้นเป็น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
อย่างถาวรเป็นฉบับแรก
ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำใน
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
กับระบอบใหม่ รวมทั้งความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นพฤติการณ์ 'ชิงสุกก่อนห่าม' เนื่องจากชาวไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการปกครองในระยะแรกหลังการปฏิวัติยังคงอยู่ใน
ระบอบเผด็จการทหาร
สงครามโลกครั้งที่สอง
ดูบทความหลักที่
สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย
ในระหว่าง
สงครามโลกครั้งที่สอง
ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเอาดินแดนคืนของนิสิตนักศึกษา จอมพล
แปลก พิบูลสงคราม
จึงส่งทหารข้ามแม่น้ำโขงและรุกราน
อินโดจีนฝรั่งเศส
จนได้ดินแดนคืนมา 4 จังหวัด ภายหลังการเข้าไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น โดยมีการรบที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่
การรบที่เกาะช้าง
ต่อมา หลังจาก
การโจมตีกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์
กองทัพญี่ปุ่นก็ได้รุกรานประเทศไทย โดยต้องการเคลื่อนทัพผ่านดินแดน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รวมทั้งลงนามใน
สนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารกับญี่ปุ่น
และประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถูกต่อต้านจากทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 แม้ว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของ
ขบวนการเสรีไทย
ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับ และไม่ถูกยึดครอง เพียงแต่ต้องคืนดินแดนระหว่างสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายทดแทนเท่านั้น
สงครามเย็น
ดูเพิ่มที่
คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
,
สงครามเกาหลี
และ
สงครามเวียดนาม
รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเป็น
พันธมิตรของสหรัฐอเมริกา
ในระหว่าง
สงครามเย็น
ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทร
อินโดจีน
และยังส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร ได้แก่
สงครามเกาหลี
และ
สงครามเวียดนาม
ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด
การพัฒนาประชาธิปไตย
หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจาก
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจ
อธิปไตย
ได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน
หน้าแรก
ติดต่อเรา